google-site-verification: googlee94f9d8adbc03df9.html แหล่งตกปลา เหยื่อตกปลา รอกและคัน: การตกปลากรายhttps://fishingsourcethailand.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การตกปลากราย

-->
การตกปลากราย

ปลากราย หลายคนพอได้ยินชื่อนี้ คงหิวข้าวนึกอยากกินทอดมันปลากรายอาหารจานโปรดของไทยเลยทีเดียว เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย ปัจจุบันเป็นปลาเศรษฐกิจ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม  ปลากรายเป็นปลาที่มีอยู่ชุกชุม ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ห้วยหนองคลองบึง แม่น้ำ  อ่างเก็บน้ำทั่วๆ ไป  ปลากราย เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata อยู่ในวงศ์ปลากราย Notopteridae มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 – 20 จุด ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนักถึง 15 ก.ก. อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่นปลาซิว ปลากระดี่เล็กๆ ปลาสร้อยเล็ก หรือกุ้งฝอย
การตกปลากราย  เป็นที่นิยมของนักตกปลาโดยทั่วไป  ไม่แพ้การตีเหยื่อปลอมปลาช่อน ปลากะพงและปลาชะโด  เหยื่อตกปลากราย  ปลากรายเป็นปลาที่ตกง่าย  กินเหยื่อง่าย แต่ก็ต้องมีเทคนิคบ้าง แนะนำให้ใช้เหยื่อปลากระดี่เล็กๆ หรือปลาซิว  แต่ถ้าจะให้กินไวก็ใช้ลูกปลาคราฟที่วางขายตามร้านตู้ปลาสวยงาม (ตัวนึงหลายตังค์)  เอาเหยื่อที่หาง่ายๆไว้ก่อนดีกว่า
เทคนิคการตกปลากราย
ตัวเบ็ด เบอร์ 8 - 10 หรือตามขนาดของเหยื่อ  ตกโดยใช้ทุ่นพยุงเหยื่อไว้ไม่ต้องใหญ่มาก  ปลายสายใส่ตะกั่วเม็ดเล็กๆ ขนาดปลายนิ้วก้อย  ให้ชิ่งหน้ายาวสักประมาณ 1 -1.5 ฟุต  ปล่อยสายเอ็นให้หย่อนๆ เผื่อให้ปลาลากสายได้สะดวกๆ ตั้งเบรครอกไว้อ่อนๆ ถ้าเป็นรอกเบสให้ปิดเสียงเลยยิ่งดี พอปลาลากสายวิ่งออกก็ค่อยๆ ส่งสาย แต่อย่าเพิ่งรีบวัดคันเบ็ด      มันจะหยุดเพื่อกลืนเหยื่อ  แล้ววิ่งออกอีกครั้ง   ถ้าเราวัดช่วงแรกอาจไม่ได้ตัว  และที่สำคัญบริเวณข้างแก้มของปลากรายจะมีความคมมาก เป็นเรื่องธรรมชาติที่สัตว์ทุกชนิดต่างก็ต้องหาวิธีให้ตัวเองรอดจากการถูกพันธนาการ  ปลากรายก็เช่นกันจะใช้วิธีโดดให้พ้นน้ำเพื่อให้ความคมที่อยู่ข้างแก้มตัดสายเอ็นขาด 
-->

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น