google-site-verification: googlee94f9d8adbc03df9.html แหล่งตกปลา เหยื่อตกปลา รอกและคัน: พฤศจิกายน 2011https://fishingsourcethailand.blogspot.com/

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แหล่งตกปลาที่โครงการสูบน้ำสุวรรณภูมิ


แหล่งตกปลาที่โครงการสูบน้ำสุวรรณภูมิ          
          ช่วงนี้ผมมีหมายตกปลาที่จะแนะนำ คือ ที่คลองระบายสูบน้ำสุวรรณภูมิ  เนื่องจากช่วงนี้ได้เกิดภาวะน้ำท่วมหลายพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ  เป็นพื้นที่ติดชายทะเลอ่าวไทยได้มีการเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลอ่าวไทย  จนน้ำในลำคลองต่างๆลดระดับต่ำ บางท้องที่เกือบแห้งคลอง  และจากการที่เร่งสูบน้ำเต็มพิกัด ปลาต่างๆที่มีอยู่ในลำคลองสำโรงและคลองต่างๆ ได้ถูกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวพัดพาเข้าสู่คลองส่งน้ำสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมาก  ปัจจุบันได้มีนักตกปลาจำนวนมากต่างหลั่งไหลกันไปตกปลาไม่เว้นแต่ละวัน  โดยเฉพาะวันหยุดมีมากเป็นพิเศษ  
ทางเข้าสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ  ด้านถนนสายบางนา - ตราด ก.ม. 19  (ขาเข้ากรุงเทพฯ) 
                  มีครบทุกรูปแบบ  แห  ตาข่าย  เบ็ดตกปลา   ตกแบบขนมปังร้อยมาลัย  ตะกร้อหน้าดิน  เบ็ดนรก  ส่วนมากที่บริเวณด้านหน้าใกล้สถานีสูบน้ำคนจะเยอะมากทั้งสองฝั่งคลอง  มาทีหลังเข้าไม่ได้เลยครับ  ส่วนมากตรงนี้จะใช้ตกแบบเบ็ดนรก คือนำตัวเบ็ดมาผูกให้มีระยะห่างกันประมาณ 5 - 7 เซ็นติเมตร ประมาณ  10 ตัว  ใช้ตะกั่วถ่วงปลายสาย  ตีสู่กลางน้ำและกรอกลับในขณะกรอกลับจะตวัดคันเบ็ดเป็นระยะๆเพื่อให้ตัวเบ็ดฝังคมที่ตัวปลา  เพราะบริเวณนี้ปลาจะถูกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว ให้มารวมกันเป็นจำนวนมากและว่ายวนอยู่ ลองดูจากภาพนะครับยิ่งกว่าบ่อแข่งตกปลาซะอีก  เคยออกข่าวว่าได้ปลาบึก  แต่ผมไม่ขอยืนยันเพราะไม่เห็นกับตา  ที่แน่ๆที่อยู่ในกระชังบ้าง  เชือกร้อยปากไว้บ้าง  มีปลาสวาย ปลาดุก  ปลานิลตัวใหญ่ๆ  ปลาช่อนพอมีบ้างให้เห็น
                  ภาพนี้ที่มองเห็นไกลๆ คือ สถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ  เป็นสถานีสูบน้ำที่มีศักยภาพมหาศาล  ที่จะทำหน้าที่ระบายน้ำออกสู่ทะเลอ่าวไทยเพื่อป้องกันน้ำท่วมในสมุทรปราการ
       ภาพนี้ซูมไกลเข้าไปดูปลาสวายที่ตกได้  ไม่ต้องบรรยายนะครับ  ไม่งั้นผู้คนคงไม่หลั่งไหลมาตกอย่างมากมายขนาดนี้  สภาวะปกติลำคลองแห่งนี้ผมเองก็มาตกเป็นประจำ  สงบเงียบน้ำไม่ไหลเชี่ยวขนาดนี้  แต่ก็ได้ปลาประจำส่วนมากจะเป็นปลานิล  ปลาช่อนก็มีแต่ต้องเดินตีเหยื่อปลอมเอา
ภาพนี้เข้าไปดูที่เว็บ http://aerosoftsummit.blogspot.com/2011/10/blog-post_28.html ของผมเอง


-->
-->

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คลองหน้าสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิปิดล้อมด้วยลวดหนามแล้ว

-->
วันนี้ (20 พฤศจิกายน 2554 )  ครอบครัวผมมีภรรยาเป็นแกนนำ มีความตั้งใจที่จะพากันไปเที่ยวชมความงามของดอกไม้ที่ สวนหลวง ร.๙ เริ่มออกจากบ้านเวลาประมาณ 09:30 น. ใช้เวลาเดินทางแบบเรื่อยๆ สบายๆ 40 กว่านาที ก็ถึง เมื่อไปถึงปรากฏว่าปิด   เพื่อปรับปรุงและปลูกพรรณไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ ในสวนเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ ๗ รอบ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔  โดยจะปิดสวนตั้งแต่วันที่ 15-30 พฤศจิกายน 2554  ผมนึกโมโหตัวเองว่าก่อนไปทำไมไม่ตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนไม่รอบคอบก็เป็นอย่างนี้แหละ ( แต่จะว่าไปผมขับรถออกจากหน้าบ้านมาแล้วจนถึงถนนบางนา ตราด  ผมยังไม่ทราบเลยว่าเจ้านายผมจะไปไหน)  สรุปไม่ได้ชมสวนหลวง ร.๙ เลยตกลงกันว่างั้นไปทำบุญที่วัดหงษ์ทองดีกว่า  
                เส้นทางไปวัดหงษ์ทอง อยู่ถนนสุขุมวิทสายเก่า สามารถไปได้หลายเส้นทาง จากสวนหลวง ร.๙ ต้องผ่านบ้านผม  และผ่านถนนเลียบคลองสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ หรือจะใช้เส้นทางบางบ่อก็ได้  แต่ผมเลือกใช้เส้นทางถนนเลียบคลองสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ จุดประสงค์คือต้องการดูการตกปลาที่หน้าสถานีสูบน้ำ ก็ขอประชาสัมพันธ์นะครับ ว่าตอนนี้ที่บริเวณหน้าสถานีสูบน้ำมีการกั้นด้วยลวดหนามทั้งสองฝั่งคลอง  และติดป้ายห้ามจับสัตว์น้ำ  เป็นระยะทางประมาณ 300 เมตร  แต่บริเวณที่ไม่กั้นลวดหนามยังมีคนตกปลาตามปกติ  คลองส่งน้ำสุวรรณภูมิมีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร 
                ผมพยายามทำความเข้าใจว่าที่กรมชลประทานห้ามนั้น  เหตุผลน่าจะมาจากเจ้าหน้าที่คิดว่าบริเวณใกล้เคียงสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ มีวัดอยู่ติดคลองสำโรงหลายวัด  แต่ละวัดจะมีปลาสวายที่คอยหากินอยู่ในบริเวณเขตวัดเป็นจำนวนมาก      เมื่อสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิมีภารกิจที่จะต้องเร่งสูบน้ำเต็มพิกัดทำให้กระแสน้ำไหลเชี่ยวจนเป็นเหตุให้ปลาที่อาศัยใบบุญหากินตามวัดวาต่างๆ  ถูกกระแสน้ำพัดพาเข้าสู่แดนสังหารหน้าสถานีสูบน้ำ  หรืออาจเป็นในเรื่องความปลอดภัยของประชาชนเองก็เป็นไปได้สูง  ก็ขอให้นักตกปลาเคารพกฎระเบียบที่ประกาศกันด้วยนะครับ  ผมไม่ได้ถ่ายรูปมาใช้รูปเก่าที่ยังไม่ห้ามแล้วกัน
พื้นที่ด้านหน้าอาคารสูบน้ำ ปัจจุบันปิดล้อมด้วยลวดหนาม


-->

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การทำเหยื่อปลานิล


การทำเหยื่อปลานิล   
           ในการที่คนเรานั้นจะตกปลาอะไรสักอย่างหนึ่ง  จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้วิถีชีวิตของปลาประเภทนั้นๆให้เข้าใจก่อนที่จะทำการตก เช่น ลักษณะความเป็นอยู่  พฤติกรรมการกินอาหาร ประเภทอาหาร เป็นต้น  
 ปลานิล      
     ปลานิล (อังกฤษ: Nile Tilapia, Mango fish, Nilotica) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ถิ่นกำเนิด
        ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดาและทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
          ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
          ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
ลักษณะทั่วไป
          ปลานิลมีเป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ (O. mossambicus) แตกกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร
อาหาร
ปลานิลกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง กุ้งฝอย ผักบุ้ง
นิสัย
        ปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่าปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพัน ทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5-8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน
การสืบพันธุ์
        ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือนต่อครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไปพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป
            หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3-4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง
คันเบ็ดและรอกตกปลา
              การตกปลาเกร็ดนั้น ควรใช้คันเบ็ดที่มีแอคชั่นอ่อนๆ ไปถึงเกือบปานกลาง  เพราะจะทำให้เราสามารถสัมผัสหรือสังเกตการกินเหยื่อของปลาได้ง่าย   ส่วนรอกตกปลาก็ใช้ตัวเล็กๆ สายเอ็นสัก 4 - 6   ปอนด์ ก็พอ   สามารถเลือกใช้ได้หลายแบรนเนมเช่น  Abu Garcia  Cardinal,  Shimano,  และ Daiwa   

            ต่อไปเรามาเริ่มกันเรื่องเหยื่อ  ขอแบ่งเป็นสองประเภท  1. เหยื่อตกปลานิลตามแหล่งน้ำธรรมชาติ 2. เหยื่อตกปลานิลตามบ่อฟิชชิ่งปาร์ค

                1. เหยื่อตกปลานิลตามแหล่งน้ำธรรมชาติ   ปกติแล้วถ้าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ลำคลอง  อ่างเก็บน้ำ  หนอง บึง  หรือแม้แต่บ่อตกปลาทั่วๆ ไป  สามารถใช้รำผสมกับขนมปัง  ใส่หัวเชื้อพวกนมแมว นมเนย พอประมาณ  ปั้นหุ้มตะกร้อเบ็ดพวง (ตะกร้อเบ็ดพวงทั่วไปที่วางขายจะมีตัวเบ็ด 4 5 ตัว) เกี่ยวด้วยเม็ดโฟมสัก 2 ตัว ที่เหลือเกี่ยวด้วยไส้เดือนเป็นๆ หรือกุ้งฝอยอาจช้อนเอาจากที่เราตกปลาก็ได้  จุดประสงค์ที่ใช้รำผสมปั้นหุ้มตะกร้อเพราะใช้เป็นเหยื่อล่อเพื่อให้ปลามารวมฝูงเร็วขึ้น   ตกอย่างนี้สามารถครอบคลุมปลาหลายประเภท เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน ปลายี่สก
                2. เหยื่อตกปลานิลตามบ่อฟิชชิ่งปาร์ค  สามารถใช้เหยื่อตามข้อ 1. ได้  และปรับเปลี่ยนตามสถานการ์ณ  ส่วนตัวผม  จะใช้อาหารปลาดุกเม็ดเล็กผสมรำ และขนมปังป่น  ตกแบบทุ่นชิงหลิว  เนื่องจากประหยัดดี ใช้เวลาไม่มาก  เพราะต้องเอาเวลาที่เหลือฝึกตีปลาสวาย  ซ้อมมือไว้แข่ง ส่วนผสมมีดังนี้
                                2.1  อาหารปลาดุกเม็ดเล็ก              2    กำมือ
                                2.2 รำละเอียด                                1    กำมือ
                                2.3 ขนมปังป่น                              1     กำมือ
                                2.4 นมกล่องรสหวาน                   1     กล่อง (กล่องใหญ่)
                วิธีทำ
-          นำอาหารปลาดุก ใส่ภาชนะ และเทนมกล่องลงไปประมาณครึ่งกล่องก่อน  แช่ทิ้งไว้ประมาณ  1 ชั่วโมง รอให้อาหารปลาดุกนิ่มตัว
-         เมื่ออาหารปลาดุกนิ่มตัวดีแล้ว ใช้มือคลุกเคล้าให้ละเอียด  และผสมรำละเอียดลงไป ตามด้วยขนมปังป่น ในขณะคลุกเคล้าให้เข้ากัน  กะดูว่าถ้าแห้งเกินไปก็ใส่นมกล่องเพิ่ม  แต่อย่าให้แชะมาก  และใส่ถุงพลาสติกมัดปากถุงหมักไว้สัก 2 คืน กลิ่นจะหอมน่ากิน
วิธีใช้
                 -     ปั้นเป็นเม็ดกลมๆ ลูกเท่าประมาณปลายนิ้วก้อย   แล้วหุ้มตัวเบ็ด  อาจจะใช้ 1 2
                      ขอก็ได้ (จำนวนตัวเบ็ด 1 2 ตัว ) 
-          ก่อนตก  ควรอ่อยก่อนจะเป็นการดี  หรือ ไม่อยากใช้ทุ่นแบบชิงหลิว สามารถใช้
ตะกร้อได้เหมือนกัน   แต่จะเปลืองเหยื่อและเปลืองเงินเท่านั้นเอง  ยุคนี้ค่าแรง 300 บาท แต่ค่าครองชีพก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว จนหลายคนต้องหยุดตกปลา และหารายได้พิเศษเพิ่ม  

--> -->