google-site-verification: googlee94f9d8adbc03df9.html แหล่งตกปลา เหยื่อตกปลา รอกและคัน: เทคนิคการล่าปลาชะโดhttps://fishingsourcethailand.blogspot.com/

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการล่าปลาชะโด

-->
เทคนิคการล่าปลาชะโด

โบราณได้กล่าวว่า รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”  ถ้าเรารู้นิสัยของปลาแต่ละชนิดที่เราต้องการจะล่าเอาตัวมันมา เราก็สามารถพยากรณ์ได้ว่า หมายของเราครั้งนี้จะเป็นหมายบอดหรือไม่ และจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปเปล่าๆ เพื่อนั่งเฝ้าคัน ยิ่งเรารู้พฤติกรรมของมันมากเท่าใด มันยิ่งใกล้ตัวเรามากยิ่งขึ้นเท่านั้น
ในหน้าน้ำปลาชะโดมักจะมีเป็นจำนวนมากในแหล่งน้ำต่างๆ  เพราะเป็นฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโด และดีที่สุดเราไม่ควรจะไปล่าปลาชะโดแม่ลูกครอก เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไว้ให้เราในภายหน้า  ควรจะเป็นการล่าปลาชะโดที่สัญจรออกเที่ยวน้ำใหม่ในฤดูฝน
ปลาชะโดมีนิสัยดุร้าย เป็นประเภทล่าเหยื่อ มีโครงสร้างที่ธรรมชาติสร้างให้มาเหมาะกับการจู่โจม มีแพนหางกว้างใหญ่มีกล้ามเนื้อมากกว่าครีบอื่นๆ ทั้งหมดต่อโดยตรงกับกระดูกสันหลังของมัน แพนหางนี้ใช้ในการโบกสะบัดเพื่อว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็วและสามารถทำหน้าที่เลี้ยวลดตามเหยื่อได้อย่างรวดเร็วมาก
มันมีครีบหลังหนึ่งชุด  ประกอบกับครีบทวารอีกหนึ่งชุด  ครีบทั้งสองนี้ช่วยในการทรงตัวอยู่ใต้น้ำ ส่วนครีบที่หูและครีบที่อก จะทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วในน้ำ และครีลดังกล่าวยังช่วยในการลดเลี้ยวใต้น้ำเป็นอย่างดี โครงสร้างต่างๆ จึงเหมาะสมกับการเป็นนักล่าที่ปราดเปรียวของมัน  มันจะซุ่มลอยตัวเงียบๆ อยู่ตามกอไม้ใต้น้ำและเมื่อเหยื่อเข้ามาใกล้ ก็จะชาร์จเข้าหาเหยื่อทันที  มันจึงมักตกเป็นเหยื่อเสียเอง จากนักตกปลาที่ใช้เหยื่อปลอมล่ามัน เนื่องจากมันเป็นนักล่าโดยกำเนิด มันจึงมีประสาทสัมผัสที่วิเศษ เช่น มันสามารถใช้โพรงจมูกดมกลิ่นได้ดีในที่ที่มีน้ำขุ่น หรือในการล่าตอนกลางคืน นักตกปลาบางท่านจะใช้เหยื่อที่มีกลิ่นเพื่อล่ามันในน้ำที่ขุ่น หรือในเวลาค่ำคืน หรือใช้เหยื่อประเภทส่งเสียงได้ ก็จะยิ่งดี เพราะมันสามารถได้ยินเสียงได้ดีจากหูที่ซ่อนอยู่ในกะโหลกของมัน  และเสียงสามารถเดินทางใต้น้ำได้ดีกว่าในอากาศถึง 5 เท่า เสียงเหล่านี้รวมถึงการสั่นสะเทือนต่างๆ ใต้น้ำ
ปลาชะโดมีการมองเห็นคล้ายกับคน แต่ต่างกันตรงที่ว่า มันไม่มีม่านปรับแสง Lris แบบคน ที่มีม่านปรับแสงให้พอเหมาะ  แต่ปลาชะโดสามารถปรับสายตาให้เข้ากับปริมาณแสง ด้วยวิธีใช้เซลล์ที่อยู่ในเรติน่า Retina ของมัน  ตาของมันสามารถปรับการมองเห็นได้ ในขณะที่มีแสงสว่างน้อย โดยใช้เซลล์ชนิดที่สอง ที่มีความไวต่อแสงสามสิบเท่า เช่นในเวลากลางคืนจะเห็นภาพเป็นขาวดำ แต่ถ้าในเวลากลางวัน หรือมีแสงสว่างมากพอ มันจะมีเซลล์อีกชนิดหนึ่งที่สมารถปรับการมองเห็นเป็นภาพสีได้
ดังนั้นการใช้เหยื่อในเวลากลางคืน จึงไม่ต้องคำนึงถึงสีสันของตัวเหยื่อ แต่ควรใช้เหยื่อที่สามารถขยับเขยื้อนได้ และทำให้เกิดเสียงจากเหยื่อจะเหมาะกว่า เพราะในเวลากลางคืนปลาชะโดล่าเหยื่อโดยอาศัยเสียงและแรงสั่นสะเทือนมากกว่าการมองเห็น ซึ่งมันมีสายตาสั้น
ที่พิเศษในการที่ธรรมชาติมอบให้มันมาคือ  มันสามารถปรับการมองเห็นได้เร็วกว่าปลาชนิดไม่ใช่นักล่า ซึ่งปลาพวกนี้ต้องใช้เวลาในการปรับสายตาถึงสองชั่วโมง  และด้วยเหตุนี้ปลาชะโดซึ่งเป็นประเภทนักล่า จึงฉวยโอกาสออกล่าเหยื่อในเวลาเช้ามืด และพลบค่ำ เนื่องจากมันสามารถปรับการมองเห็นในน้ำได้เร็วกว่าปลากินพืช ท่านนักตกปลาก็ถือโอกาสล่าปลาชะโดได้ดีในเวลาดังกล่าวเหมือนกัน เป็นการล่าซ้อนการล่านั่นเอง และเนื่องจากเหตุดังกล่าวในการปรับสภาพการมองเห็นของปลาชะโด  บางท่านชอบส่องไฟลงไปในผิวน้ำ โดยการทำแบบนี้ จะทำให้ปลาชะโดตกใจและเตลิดหนีไปทันที เนื่องจากความไม่คุ้ยเคยต่อแสงฉับพลันในยามค่ำคืน เนื่องจากเซลล์ในตาของปลาชะโดในตอนนั้น มันปรับเปลี่ยนเป็นเซลล์ชนิดไวต่อแสง แต่ถ้าเป็นแสงที่ส่องสว่างอยู่นานๆ อยู่อย่างประจำ เช่นตามเสาไฟท้องถนน หรือตามสะพาน อาจมีปลาชะโดมากินเหยื่อเช่นสัตว์น้ำเล็กๆ ที่มาเล่นไฟนั้น ก็เพราะปลาชะโดคุ้นกับแสงไฟที่ส่องสว่างอยู่นานแบบนั้น จนปรับการมองเห็นได้แล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นแสงสว่างจากเสาไฟ ที่อยู่ตรงถิ่นอาศัยที่อยู่ของมัน และเป็นพวกชะโดคุ้นถิ่นเสียมากกว่าชะโดต่างถิ่น  โดยมันจะไม่ตื่นแสงไฟ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น