google-site-verification: googlee94f9d8adbc03df9.html แหล่งตกปลา เหยื่อตกปลา รอกและคัน: ปลาบึก Mekong Giant Catfishhttps://fishingsourcethailand.blogspot.com/

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปลาบึก Mekong Giant Catfish


ปลาบึก Mekong Giant Catfish
ปลาบึก  ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon gigas เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาว เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบัน IUCN จัดปลาบึกอยู่ในกลุ่ม Critically Endangered ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก
ปลาบึกถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Pangasinodon ลักษณะภายนอกที่สามารถแยกแยะปลาบึกออกจากปลาในสกุล Pangasius ซึ่งเป็นปลาในสกุลที่ใกล้เคียงที่สุด ได้แก่ลักษณะของฟันและหนวด ปลาบึกไม่มีฟันและเกือบจะไม่มีหนวด โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป และตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปากเมื่อมองจากด้านหน้าตรง ๆ จะไม่เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ อีกทั้งปลาบึกมีซี่กรองเหงือกเล็กกว่า และ ปลายถุงลมจะลงถึงบริเวณช่วงท้องไม่เกินครีบก้น อีกทั้งความกว้างของปากและส่วนหัวของปลาบึกก็มีมากกว่า
ถิ่นกำเนิด :           
ปลาบึกพบอาศัยอยู่เฉพาะในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาเท่านั้น เคยพบบ้างในแคว้นฉานของประเทศพม่า และแคว้นยูนาน ในประเทศจีนตอนใต้ ชอบบริเวณแม่น้ำที่มีความลึกมากกว่า 10 เมตร พื้นท้องน้ำเป็นกรวด และควรจะมีเพิงหินหรือถ้ำใต้น้ำด้วย
การขยายพันธุ์ :   
ปลาบึกเป็นปลาที่รักสงบ ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณเขตน้ำลึกที่มีกระแสน้ำไหล เชื่อว่าฤดูวางไข่ของปลาบึก จะตกอยู่ราวเดือนกุมภาพันธ์ โดยปลาบึกจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่เหนือขึ้นไปจากประเทศไทย บริเวณหลวงพระบางในประเทศลาวซึ่งเป็นบริเวณนำลึกมีเกาะแก่งมากสะดวกในการผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูแล้ง พอถึงฤดูน้ำหลาก มันจะว่ายตามน้ำลงมายังแม่น้ำโขงตอนล่าง
อาหาร :
อาหารในธรรมชาติคือพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ตะไคร่น้ำ สาหร่ายที่ขึ้นอยู่ตามก้อนหินใต้น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้  ได้แก่ รำ ขนมปัง
สถานภาพปัจจุบัน :           
ในปัจจุบันประเทศไทยโดยทางกรมประมงได้ผสมเทียมปลาบึกเป็นผลสำเร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และในปีต่อมาสามารถเพาะพันธุ์ได้จำนวนมากพอที่จะปล่อยในแหล่งน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏว่าปลาบึกเจริญเติบโตได้ดี แต่ยังไม่ทราบว่าจะผสมพันธุ์วางไข่ได้หรือไม่ ทุกปีจะมีเทศกาลจับปลาบึกขึ้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ทำให้ปลาบึกที่โตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์ถูกจับปีละนับร้อยตัว เพื่อนำเอามาขายเป็นอาหารราคาแพง ทำให้ปริมาณของปลาบึกในแม่น้ำโขงลดจำนวนลงทุกปีๆ 
และเมื่อวันที่ 21/ 07 / 2555 มีข่าวจาก คมชัดลึกออนไลน์ มีชาวบ้านพบปลาบึกในแม่น้ำปัตตานี  มีประมาณ 8 ตัว น้ำหนักตัวละประมาณ 120 กิโลกรัม ซึ่งประชาชนไม่เคยเห็น  บริเวณสะพานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฏราชกุมาร  ต.จะบังติก อ เขตเทศบาลเมือง ปัตตานี
ข่าวจาก     : คมชัดลึกออนไลน์ วันที่ 21/ 07 / 2555
-->

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น