การพัฒนาคันเบ็ดตกปลา
คันเบ็ดไม้ไผ่ สมัยก่อนการตกปลาในประเทศไทย
หรือในต่างประเทศ ค่อนข้างรู้จักกันดี ถึงแม้ปัจจุบัน การพัฒนาคันเบ็ดตกปลา จะก้าวล้ำไปมากก็ตาม
คันเบ็ดไม้ไผ่ก็ยังถือว่าเป็นคันเบ็ดที่มีนักตกปลาบางกลุ่มยังนิยม
เพราะมีความคลาสสิคในตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกตกปลาด้วยชุดฟลาย
การพัฒนาคันเบ็ดตกปลา
คุณสมบัติ คุณภาพ และลักษณะการใช้งานของคันเบ็ด
จะมีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่ 3 ประการคือ
1.ความแข็ง หรือ
เพาเวอร์ (Power)
ความแข็ง หรือ เพาเวอร์ (Power) คือขนาดของแรงที่มากระทำต่อคันเบ็ดให้บิดหรืองอโค้ง
โดยยึดแรงปฏิกิริยาที่แบล้งค์จะดีดตัวหรือขืนตัว เมื่อมีแรงมาดึงที่ปลายคันเบ็ด
มีอยู่ 3 ระดับใหญ่ๆ คือ แข็ง (Heavy), ปานกลาง (Medium) และอ่อน (Light) ใช้ตัวย่อว่า H,M และ L ตามลำดับ
และสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 9 ระดับตามที่บริษัทของ เฟนวิค (Fenwick)
กำหนดจนเป็นที่ยอมรับมาตรฐานนี้กันทั่วโลก คือ
กลุ่มอ่อน มี 3 ระดับ คือ Ultra Light,
Extra Light, Light
กลุ่มปานกลาง มี 3 ระดับ คือ Medium Light,
Medium, Medium Heavy
กลุ่มแข็ง มี 3 ระดับ คือ Heavy, Extra
Heavy, Ultra Heavy
คันที่มีพาวเวอร์สูงๆ ก็เหมาะที่จะใช้กับสายที่มีความทนแรงดึงสูงๆ แต่ก็ไม่เหมาะกับสายที่มีแรงยืดตัวต่ำๆ(ในกรณีนี้แก้ด้วยการใช้สายซ็อค
ลีดเดอร์)
ส่วนคันที่มีพาวเวอร์ไม่มาก ก็เหมาะกับสายที่มีความทนแรงดึงน้อยๆ เพราะคันจะเป็นตัวซับแรงกระชากได้ดี
2.แอคชั่น (Action)
แอคชั่น (Action) คือรูปแบบการโค้งตัวของคันเบ็ด
แบ่งออกได้ 4 รูปแบบ คือ
Action A หรือ Extra
fast เป็นแอ็คชั่นที่แข้งมาก
คือเมื่อทดลองโน้มคันเบ็ดดูจะเห็นว่าปลายคันโค้งลงมาได้เพียง 1/4 หรือ 25% ของความยาวทั้งหมด
Action B หรือ Fast
เป็นแอ็คชั่นแข้งพอประมาณคันเบ็ดจะโค้งลงมาประมาณ 1/3 หรือ 33% ของความยาวทั้งหมด
Action C หรือ Moderate
เป็นแอ็คชั่นปานกลาง คันเบ็ดจะโค้งลงมา 1/2
หรือ 50% ของความยาวทั้งหมด
Action D หรือ Slow
เป็นแอ็คชั่นที่อ่อนที่สุด เกือบจะเรียกได้ว่าโค้งเหมือนเครื่องหมายวงเล็บ
คันที่มีแอคชั่นแข็ง
ก็เหมาะต่อการส่งเหยื่อที่มีน้ำหนักมากกว่า
แต่ก็จะส่งผ่านการรับรู้แรงสั่นสะเทือนด้อยกว่าคันที่มีแอคชั่นอ่อน
3.เซนชิติวิตี้ (Sensitivity)
เซนชิติวิตี้ (Sensitivity) คือความไวของคลื่นสัญญาณที่ส่งมาทางปลายสายมาสู่มือผู้ตก
ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของเหยื่อปลอม หรือ ปลาตอด
เซนซิติวิตี้ของคันเบ็ดจะมีมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่นำมาผลิตเป็นแบล้งค์ ตัวเส้นใย และโครงสร้างของเส้นใยที่นำมาทอผสานเป็นผ้า
การอัดม้วนที่แน่นเสมอกันตลอดทั้งคัน การอบเนื้อให้แกร่ง เป็นต้น
เหล่านี้ล้วนมีผลต่อเซนซิติวิตี้ทั้งนั้น
Action A หรือ Extra
fast เป็นแอ็คชั่นที่แข้งมาก
คือเมื่อทดลองโน้มคันเบ็ดดูจะเห็นว่าปลายคันโค้งลงมาได้เพียง 1/4 หรือ 25% ของความยาวทั้งหมด
Action B หรือ Fast
เป็นแอ็คชั่นแข้งพอประมาณคันเบ็ดจะโค้งลงมาประมาณ 1/3 หรือ 33% ของความยาวทั้งหมด
Action C หรือ Moderate
เป็นแอ็คชั่นปานกลาง คันเบ็ดจะโค้งลงมา 1/2
หรือ 50% ของความยาวทั้งหมด
Action D หรือ Slow
เป็นแอ็คชั่นที่อ่อนที่สุด เกือบจะเรียกได้ว่าโค้ง
วัสดุที่นำมาทำคันเบ็ด
ในปัจจุบันวัสดุที่ใช้ทำคันเบ็ดถูกคัดสรรปรุงแต่งสังเคราะห์ขึ้นมาอย่างมากมาย
ซึ่งก่อให้เกิดคันเบ็ดที่มีคุณสมบัติที่ตรงต่อความต้องการของนักตกปลาและตลาด มีดังนี้
1. ไฟเบอร์ กลาส
เมื่อช่วงการพัฒนาการทางเคมีภัณฑ์และความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุสังเคราะห์เป็นไปด้วยดี
ในช่วงนี้ผู้พัฒนาคันเบ็ดก็ได้รู้จักกับวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติที่เสถียรกว่าวัสดุธรรมชาติ
แรงดีดแรงงัดก็มีความสม่ำเสมอในทุกๆชิ้นในสายการผลิต
ข้อดี คันไฟเบอร์ กลาส ถือเป็นคันที่มีประสิทธิภาพรอบด้านในยุคสมัยนั้น
แต่เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน คันไฟเบอร์ กลาส
กลับมีข้อจำกัดตรงที่มีน้ำหนักมาก ความไวในการส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนค่อนข้างน้อย
แต่ด้วยความเหนียวทนทานของไฟเบอร์ กลาส
ก็ทำให้เหมาะกับงานสำหรับตกปลาด้วยเหยื่อปลอมขนาดเล็กๆ เช่น ปลานิล ปลาดุก บ้านเรา นิยมใช้กันมากเนื่องจาก
ราคาค่อนข้างถูก และ มีให้เลือกหลายหลายรุ่น และ ญี่ห้อ
อีกทั้งยังใช้งานได้หลากหลาย
ไม่ต้องบำรุงรักษามาก
2. กราไฟท์ ยุคต่อมาการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ดีขึ้น
สามารถประสานกราไฟท์ให้ได้เป็นเส้นใย และนำมาทอเป็นผืน
แล้วนำมาม้วนรอบแกนแล้วประสานด้วยกาวให้อยู่ตัว คันกราไฟท์ก็ถือกำเนิดขึ้น
ข้อดีของวัสดุกราไฟท์คือเบา และมีแรงดีดดี
และเมื่อนักประดิษฐ์ได้ลองถักทอแผ่นกราไฟท์ด้วยโครงสร้างที่ต่างกันก็เกิดคุณสมบัติของคันเบ็ดที่แตกต่างออกไป
แต่ข้อจำกัดของกราไฟท์ก็คือ เป็นวัสดุที่เปราะบาง และเป็นสื่อไฟฟ้า
เคยมีกรณีฟ้าผ่าลงคันเบ็ดมาแล้วหลายหน
และในที่สุดก็ได้มีการผสมข้ามวัสดุกันระหว่างกราไฟท์ กับไฟเบอร์กลาส
ก็ทำให้ได้วัสดุทำคันที่สนองต่อการตลาดมากขึ้น
3. คาร์บอนไฟเบอร์
และเมื่อสามารถนำธาตุกราไฟท์มาถักทอเป็นแผ่นผืนได้
หลังจากนั้นก็ได้มีการศึกษานำเอาวัตถุธาตุอื่นๆมาทอประสานกัน คาร์บอน ก็เป็นอีกหนึ่งวัตถุธาตุที่ได้รับการพัฒนามาจนเป็นคันเบ็ด
เช่นเดียวกันกับวัตถุธาตุอื่นๆ เช่น โบรอน เป็นต้น
ข้อดีของ วัตถุธาตุพิเศษเหล่านี้คือ
นักประดิษฐ์ได้คัดสรรนำธาตุที่มีความแกร่ง และ ยืดหยุ่นสูงมาประกอบ
อีกทั้งยังมีความเบาเป็นพิเศษ แต่ข้อจำกัดของวัสดุใหม่ๆเหล่านี้คือ ราคาที่สูง
เพราะวัสดุเหล่านี้ ยังมีการศึกษาพัฒนาคุณสมบัติอยู่เรื่อยๆ
เพื่อให้ได้สิ่งที่เหมาะสมกว่า ทำให้ยังมีวางจำหน่ายให้เห็นอยู่น้อยมากในปัจจุบัน
เนื้อคันเบ็ด ที่เห็นได้จากในตลาดบ้านเราตอนนี้ก็มีประมาณ
3เนื้อที่
1. คันเนื้อไฟเบอร์ :
เป็นคันที่มักมีเวท และ แอ็คชั่น ค่อนข้างจะอ่อน หรือ ยวบๆหน่อย
โคนคันจะค้อนข้างใหญ่
ราคาถูกและมีให้เลือก ทั้งแบบ คันเบท และ สปิน ด้ามก็มีให้เลือก ทั้งด้าม
ก๊อก และ ด้ามยาง ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นคันพื้นฐานของผู้ฝึกหัดตกปลาช่วงแรกๆก็ว่าได้
ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ต้องการดูแลรักษามาก ราคาถูก ส่วนมาก ราคาเริ่มต้นที่ 200- 400 กว่าบาท
2. คันเนื้อตัน :
ที่เราเคยเห็นจะเป็นคันเนื้อสีเขียวๆ ในปัจจุบัน มีการผลิตคันให้มีสีอื่นๆแล้ว
ทั้ง สีใส่ , ดำ , หรือสีกากเพชร
ผมก็เคยเห็นมาแล้ว โดยรวมแล้วคันประเภทนี้เป็นคันอเนกประสงค์อย่างแท้จริง
เพราะมีแอ็คชั่น กลาง-แข็ง
ในส่วนดีที่คนมักนิยมซื้อคันตัน ก็เพราะว่า เป็นคันที่ไม่มีกระดูกคัน
กล่าวคือ จะใช้กับรอกเบท หรือ สปินก็ได้ ไม่ต้องเปลี่ยนคัน และ
ไม่มีผลต่อการใช้งานคัน มักใช้เป็นคันตกปลาใหญ่ ทั้งทนทาน ตากแดดได้นานไม่กรอบง่าย
ราคาคันละประมาณ 300-500 กว่าบาท ก็หาซื้อได้แล้ว แต่
คันตันมีข้อเสียคือ เรื่องน้ำหนักคันที่ค่อนข้างหนัก จึงมักใช้งานประเภท ตกปลาทะเล
หรือ ปลาตามแม่น้ำ ไม่เน้นการตี เพราะคันมีน้ำหนักมากกว่าคันประเภทอื่นๆ
จึงอาจทำให้ตี หรือ ส่งเหยื่อได้ไม่ไกลเท่าที่ควร
3. คันเนื้อกราไฟท์ :
เป็นคันที่สวย และ เพรียวที่สุด เมื่อเทียบกับคันเนื้ออื่นๆนะครับ
หากใครชอบคันที่มีความสาย และ เก็บลายละเอียดดีๆ ก็มักจะเลือกคันประเภทเนื้อกราไฟท์
ส่วนเรื่องแบรนนี่ก็แล้วแต่ใครจะชอบแบรนใด เลือกได้ตามสบายใจ
เพราะเดี่ยวนี้เท่าที่เห็นมา คัน Viva ด้ามก๊อกเคลือบให้เสร็จ
แถมยังเป็นเนื้อกราไฟท์ ทอลายผ้าอีกต่างหาก ราคาแค่คันละ 500 บาทเอง