google-site-verification: googlee94f9d8adbc03df9.html แหล่งตกปลา เหยื่อตกปลา รอกและคัน: การตกปลาด้วยรอกเบทคาสติ้ง Bait Casting Reelshttps://fishingsourcethailand.blogspot.com/

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

การตกปลาด้วยรอกเบทคาสติ้ง Bait Casting Reels

-->
Abu Garcia Ambassadeur CS Pro Rocket Baitcast Reel
 การตกปลาด้วยรอกเบทคาสติ้ง Bait Casting Reels
Abu Garcia 6500C3 Ambassadeur C3  Baitcast Reel
รอกเบทคาสติ้ง เป็นรอกตกปลาชนิดหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในวงการตกปลาบ้านเราอย่างมาก  โดยเฉพาะจะเน้นไปในเรื่องของประสิทธิภาพของการใช้งานหนัก  ความแตกต่างจะฉีกรูปแบบไปจากรอกสปินนิ่ง โดยสิ้นเชิง  และการทำงานก็ค่อนข้างออกไปเป็นเรื่องของปลาตัวใหญ่  หรือสภาพที่ต้องใช้แรงเย่อกับปลาอย่างมาก  เพราะรอกเบทคาสติ้งได้ถูกออกแบบมาเฉพาะเจาะจงการใช้งานหนัก  ไล่ตั้งแต่ Shimano, Abu Garcia,  Daiwa, Penn, Newell, Omoto, Avet, ยังไม่รวมถึงรอกแบรนด์เนมต่างๆ ที่ออกมาแข่งขันในตลาดรอกตกปลาบ้านเรา ได้แก่ประเภทตีเหยื่อปลอมส่วนมากจะเรียกว่ารอกหยดน้ำ  รอกทรอลลิ่ง (Trolling ) และที่ใช้ตกปลาแบบชนิดตีเหยื่อไกลๆ ทั่วไป  แต่ที่ตียากสุดเห็นจะเป็นอย่างหลัง ถ้าใครไม่เคยใช้งานรอกเบทมาบ้างเลยจะพบอาการสายฟู่  จนบางทีถอดใจไปเลยก็มี 
รอกเบทตกปลารุ่นใหม่ๆ ที่มียี่ห้อหน่อยส่วนมากจะปรับปรุงระบบการหน่วงสปูล, เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันสายฟู่ขณะตีเหยื่อ ระบบหน่วงจะมี 3 ประเภท
1.       ระบบหน่วงแกนสปูลหรือ Spool Tension
2.       ระบบหน่วงแม่เหล็กหรือ Magnetic
3.       ระบบเม็ดหน่วงหรือ Centrifugal
Shimano TR 200
แต่ถึงจะปรับปรุงดีอย่างไร หากผู้ที่ใช้งานยังเป็นมือใหม่ๆ ซิงๆ สำหรับรอกชนิดนี้  ก็ยังมีอาการสายฟู่อยู่ดี  บทความนี้เป็นเพียงการแนะนำ  สำหรับท่านกำลังจะก้าวเข้าสู่การเล่นรอกเบทกับเกมมันส์ๆ  ส่วนท่านที่เป็นมือเก่าแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระดับเทพชั้นไหนก็ตาม  อ่านแล้วผิดถูกอย่างไรโปรดแนะนำเพิ่มเติม โดยคอมเมนท์ที่บทความ หรือ Facebook  จักเป็นพระคุณยิ่ง
                ตอนตกปลาใหม่ๆ ผมจะใช้รอกตกปลาสปินนิ่ง  หลังจากมีประสบการณ์ที่กล้าแกร่งขึ้นบวกกับได้เห็นนักตกปลาท่านอื่นๆ ที่ใช้รอกเบทในการตกปลา  มันเป็นความรู้สึกที่มองดูแล้วเกิดความเมามันในอารมณ์  ตอนหลังเลยลองไปหารอกเบทมาใช้บ้าง ตัวแรกที่ซื้อ Shimano TR 200 เนื่องจากช่วงนั้นดูข้อมูลจากอินเตอร์เน็ท มีแต่ผู้ให้คะแนนว่าเป็นรอกที่ดี ทน อึด สู้ปลาใหญ่ๆได้อย่างสบาย  พอได้มาก็หัดตีเหยื่อ  โอ้โห... ยำวุ้นเส้นกระจายเต็มบ่อเลย  แกะไม่ไหวตัดทิ้งอย่างเดียว ผมเองก็แทบถอดใจเหมือนกันตอนนั้น  แต่ก็ใช้ความพยายามบวกความอดทน  จนกระทั่งตีเหยื่อดีขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มตีได้ไกลขึ้น จนปัจจุบันตีได้ดีทีเดียว มาระยะหลังเปลี่ยนมาใช้ของ Abu Garcia  รู้สึกว่าจะตีเหยื่อง่ายกว่า Shimano TR 200  เพราะมีระบบหน่วง ระบบหน่วงแกนสปูลและระบบเม็ดหน่วงช่วย ซึ่ง Shimano TR 200 ช่วงนั้นมีหน่วงระบบเดียวคือ ระบบหน่วงแกนสปูล
ในที่นี้ผมจะมากล่าวถึงวิธีตีเหยื่อด้วยรอกเบทอย่างไรให้ฟู่น้อยครั้งที่สุด ที่บอกว่าฟู่น้อย เพราะว่าปัจจุบันผมเองก็ยังตีฟู่อยู่เลย แต่ไม่น่าเกลียดเหมือนตอนหัดใหม่ๆ และแก้ง่ายเท่านั้นเอง  อันดับแรกก็ต้องทำความเข้าใจหรือศึกษารายละเอียดของรอกที่เรามีอยู่ให้เข้าใจเสียก่อน  ต่อจากนั้นก็ต้องมาฝึกตีเหยื่อตามบ่อตกปลาก็ได้กว้างดี โดยที่ยังไม่ต้องผูกตัวเบ็ด ให้ใช้ลูกตะกั่วน้ำหนักประมาณ 40- 50 กรัม เป็นปลายสายแล้ว
1. ต่อไปก็เป็นขั้นตอนปรับบาลานซ์ การปรับตัวหน่วงให้สัมพันธ์กับน้ำหนักของเหยื่อที่ใช้  ให้หมุนปรับตัวหน่วงที่อยู่ข้างตัวรอก (รอกบางรุ่นจะมีปุ่มปรับหน่วงสปูลสองข้าง บางรุ่นก็มีข้างเดียว) ให้สุดก่อน แล้วให้ยกคันเบ็ดให้อยู่ในระดับรักแร้ของเรา ให้คันตั้งฉากขนานกับพื้น
2. หมุนเหยื่อ หรือตะกั่วที่ผูกปลายสายขึ้นมาเกือบถึงปลายคันเบ็ด
3.กดฟรีสปูลปล่อยให้เหยื่อไหลลงมา  แล้วคอยสังเกตดู เหยื่อที่ไหลลงสู่พื้น จะต้องไม่ไหลลื่นมากเกินไป และจะต้องไม่หนืดเกินไปอีกเหมือนกัน ถ้าหนืดมากให้คลายหน่วงสปูลออกทีละนิดและลองตีดู
4. เวลาตีให้ใช้หัวนิ้วโป้งคอยเลีย.. สปูลเบาๆ เมื่อเหยื่อกระทบผิวน้ำให้เอานิ้วโป้งกดลงไปที่สปูลเป็นการหยุดไม่ให้สปูลหมุนฟรีเนื่องจากยังมีแรงเฉื่อยที่จะทำให้สายฟู่ได้  ถ้าตีไม่ค่อยออกเนื่องจากปรับหน่วงไว้เยอะให้คลายหน่วงออกมาอีก 
ที่สำคัญมันต้องหมั่นฝึกตีบ่อยๆ แล้วจะรู้จังหวะรอกที่เราใช้เอง  ซึ่งทุกๆคน ก็ไม่ต่างอะไรกันมาก หลายคนที่เคยใช้รอกของตัวเองจนชำนาญแล้วพอไปใช้รอกของคนอื่นก็มีโอกาสฟู่ได้เหมือนกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น